เมนู

เอ็นที่บุคคลใส่เข้าไปในไฟ ย่อมงอ หดเข้า ม้วนเข้า คือไม่แผ่ออก แม้ฉัน
ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุภสัญญาอยู่เนือง ๆ จิต
ย่อมงอ หดเข้า หวนกลับจากความเข้าประชิดด้วยเมถุนธรรม คือไม่พุงซ่าน
ไป ฉันนั้นเหมือนกันแล.
ข้อว่า อิจฺฉามหํ ภิกฺขเว อฑฺฒมาสํ ปฏิสลฺลิยิตุํ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออก คือหลีกเร้นอยู่โดดเดี่ยวลำพัง
ผู้เดียว ตลอดกึ่งเดือนหนึ่ง.
ข้อว่า นมฺหิ เกนจิ อุปสงฺกมิตพฺโพ อญฺญตฺร เอเกน ปิณฺ-
ฑปาตนีหารเกน
มีความว่า ภิกษุรูปใด ไม่ทำปยุตวาจา (วาจาเนื่องด้วย
ปัจจัย) ด้วยตน นำบิณฑบาตที่เขาตกแต่งเพื่อประโยชน์แก่เราในตระกูลมี
ศรัทธา น้อมเข้ามาแก่เรา ยกเว้นภิกษุผู้นำบิณฑบาต เข้าไปให้นั้นรูปเดียว
ใคร ๆ คนอื่นจะเป็นภิกษุหรือคฤห์ก็ตาม อย่าเข้าไปหาเรา.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามภิกษุฆ่ากัน เพราะทรงเห็นกรรมเก่า]


ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนี้ ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ในครั้งดึกดำบรรพ์ นายพรานเนื้อประมาณ 500
คน เอาท่อนไม้และข่ายเครื่องจับสัตว์เป็นอันมาก ล้อมป่าไว้พากันหัวเราะ
รื่นเริง รวมเป็นพวกเดียวกันนั่นแล สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยกรรม คือการ
ฆ่าเนื้อและนก จนตลอดชีวิต แล้วเกิดในนรก. พรานเนื้อเหล่านั้น หมกไหม้
ในนรกนั้นแล้ว เกิดในหมู่มนุษย์ เพราะกุศลกรรมบางอย่าง ที่ตนทำไว้แล้ว
ในหนหลังนั้นแล จึงได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ทั้งหมด ด้วยอำนาจแห่งอุปนิสัยแห่งกรรมอันงาม. อปราปรเจตนาของ
พรานเนื้อเหล่านั้น ที่ยังไม่ได้เผล็ดผล เพราะอกุศลกรรมที่เป็นรากเหงานั้น ได้

กระทำโอกาสเพื่อเข้าไปตัดรอนชีวิตเสียด้วยความพยายามของตนเอง และด้วย
พยายามของผู้อื่น ในภายในกึ่งเดือนนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระ-
เนตรเห็นความขาดไปแห่งชีวิตนั้นแล้ว. ขึ้นชื่อว่ากรรมวิบากใคร ๆ ไม่สามารถ
จะห้ามได้. ก็บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนก็มี เป็นพระโสดาบัน
พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระขีณาสพก็มี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ
ทั้งหลายผู้เป็นพระขีณาสพ ไม่มีการถือปฏิสนธิ พระอริยสาวกทั้งหลายนอกนี้
เป็นผู้มีคติแน่นอน คือมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า; คติของพวกภิกษุผู้ยังเป็น
ปุถุชน ไม่แน่นอน. คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่า
นี้ กลัวต่อมรณภัย เพราะความรักด้วยอำนาจความพอใจในอัตภาพ จักไม่อาจ
ชำระคติให้บริสุทธิ์ได้; เอาเถิด ! เราจะแสดงอสุภกถาเพื่อละความรักด้วย
อำนาจความพอใจ แก่เธอเหล่านั้น เธอเหล่านั้น ครั้นได้ฟังอสุภกถานั้นแล้ว
จักทำการชำระคติให้บริสุทธิ์ได้ เพราะเป็นผู้ปราศจากความรักด้วยอำนาจความ
พอใจในอัตภาพแล้ว จักถือเอาปฏิสนธิในสวรรค์ การบรรพชาในสำนักของ
เรา จักเป็นคุณชาติมีประโยชน์แก่เธอเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงอสุภกถา ด้วยหัวข้อพระกรรมฐาน เพื่อ
อนุเคราะห์แก่เธอเหล่านั้นหาได้แสดงด้วยความประสงค์ ในการพรรณนาถึง
คุณแห่งความตายไม่. ก็แล ครั้นทรงแสดงแล้ว พระองค์ได้มีความดำริอย่าง
นี้ ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลาย จักพบเห็นเราตลอดกึ่งเดือนนี้ไซร้ เธอเหล่านั้นจัก
มาบอกเราว่า วันนี้ภิกษุมรณภาพไปรูปหนึ่ง วันนี้มรณภาพไป 2 รูป ฯ ล ฯ
วันนี้มรณภาพไป 10 รูป ดังนี้ ก็แลกรรมวิบากนี้เราหรือใครคนอื่นก็ไม่สามารถ
จะห้ามได้ เรานั้น แม้ได้ฟังเหตุนั้นแล้วก็จักทำอะไรเล่า ? จะมีประโยชน์
อะไรแก่เรา ด้วยการฟังที่หาประโยชน์มิได้มีแต่ความฉิบทายใช่ประโยชน์ เอา

เถิด ! เราจะเข้าไปยังสถานที่ ๆ ภิกษุทั้งหลายจะเห็นไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราปรารถนาจะ
หลีกออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำ
บิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.
ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสอย่างนั้นแล้ว
จึงได้หลีกออกเร้นอยู่ เพื่อจะเว้นความติเตียนของผู้อื่น นัยว่า ชนพวกอื่น จัก
กล่าวติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทรงรู้สิ่ง
ทั้งปวง ทั้งทรงปฏิญาณอยู่ว่า เราเป็นผู้ยังจักรคือพระสัทธรรมอันบวรให้เป็น
ไป ไม่ทรงสามารถจะห้ามพระสาวกทั้งหลายแม้ของพระองค์ ผู้วานกันและกัน
ให้ฆ่ากันอยู่ ไฉนจักทรงอาจห้ามบุคคลอื่นได้เล่า ? ในข้อที่ผู้อื่นกล่าวติเตียน
นั้นบัณฑิตทั้งหลาย จักกล่าวแก้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบการหลีก
ออกเร้นอยู่ หาได้ทรงทราบความเป็นไปนี้ไม่ แม้ผู้จะทูลบอกพระองค์บางคน
ก็ไม่มี ถ้าพึงทรงทราบไซร้ ก็จะพึงทรงห้ามแน่นอน. แค่เพียงข้อที่ทรงมี
ความปรารถนาเป็นข้อแรกนี้นั่นเอง ย่อมเป็นเหตุในคำนี้ได้.
ศัพท์ว่า อสฺสุธ ในคำว่า นาสฺสุธ เป็นนิบาตลงในอรรถสัก
ว่าทำบทให้เต็ม หรือในอรรถคือการห้ามว่า ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าเลย.
อสุภภาวนานุโยค (ความหมั่น ประกอบเนือง ๆ ในการเจริญอสุภกรรม
ฐาน) นั้น มีกระบวนการทำต่าง ๆ ด้วยเหตุทั้งหลายมีสีและสัณฐานเป็นต้นมาก
มาย; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อเนกาการโวการ (มีกระบวนการทำต่าง ๆ
มากมาย). มีคำอธิบายว่า เคล้าคละปะปนกันด้วยอาการมากมาย คือเจือปน

กันด้วยเหตุหลายอย่าง. อเนกาการโวการนั้นได้แก่อะไร ? ได้แก่อสุภภาว-
นานุโยค. ซึ่งความหมั่นประกอบเนือง ๆ ในการเจริญอสุภกรรมฐาน มีกระ-
บวนการต่าง ๆ มากมายนั้น.
สองบทว่า อนุยุตฺตา วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ประกอบ
คือขวนขวายอยู่.
บทว่า อฏฺฏิยนฺติ ความว่า ย่อมเป็นผู้อืดอัด คือ มีดวามลำบาก
ด้วยกายนั้น.
บทว่า หรายนฺติ แปลว่า ย่อมระอา.
บทว่า ชิคุจฺฉนฺติ แปลว่า เป็นผู้เกิดความเกลียดชังขึ้นเอง.
บทว่า ทหโร แปลว่า เด็กรุ่นหนุ่น.
บทว่า ยุวา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม.
บทว่า มณฺฑนกชาติโย แปลว่า ผู้ชอบแต่งตัวเป็นปกติ.
สองบทว่า สีสํ นหาโต แปลว่า ผู้อาบน้ำพร้อมทั้งศีรษะ.
ในสองคำว่า ทหโร ยุวา นี้ท่านพระอุบาลีเถระแสดงความเป็นผู้
แรกเป็นหนุ่ม ด้วยคำว่า ทหระ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในคราวแรกเป็นหนุ่ม
ย่อมมีปกติเป็นผู้ชอบแต่งตัวโดยพิเศษ. ท่านพระอุบาลีเถระ แสดงถึงเวลาขวน-
ขวายการแต่งตัวด้วยคำทั้งสองว่า สีสํ นหาโตนี้. แท้จริง แม้คนหนุ่มทำการ
งานบางอย่างแล้วมีร่างกายเศร้าหมอง ก็หาเป็นผู้ขวนขวายการแต่งตัวไม่. แต่
เขาอาบน้ำสระเกล้าเสร็จแล้วจึงตามประกอบการแต่งตัวทีเดียว ย่อมไม่ปรารถนา
แม้ที่จะเห็นของสกปรกมีซากงูเป็นต้น.

[พวกภิกษุฆ่าตัวเองและวานให้ผู้อื่นฆ่า]


ขณะนั้น บุรุษหนุ่มนั้น พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชังด้วยซากงู
ซากสุนัขหรือซากศพมนุษย์อันคล้องอยู่ที่คอ คือมีบุคคลผู้เป็นข้าศึกบางคนนั่น